เป็นสิ่งแรก และเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ เราจะเป็นต้องมีหลักการในการออกแบบผลงานของเรา ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีจุดเด่นที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
1. เอกภพ ( unity)
2. ความสมดุลย์ ( balance)
3. การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis)
4. เส้นแย้ง ( opposition)
5. ความกลมกลืน ( Harmony )
6. จังหวะ (rhythm)
7. ความลึก / ระยะ ( Perspective)
8. ความขัดแย้ง (Contrast)
9. การซ้ำ ( Repetition)
หลักการออกแบบ ตอน 1
1. ความเป็นหน่วย / เอกภพ ( Unity)
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้น ๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักการนี้เช่นกัน รวมถึงการลงสีอะครีลิคอีกด้วย
การสร้างเอกภพในทางปฎิบัติมี 2 แบบคือ
– Static unity การจัดกลุ่มของ from และ shape ที่แข็ง เช่น รูปทรงเรขาคณิต จะให้ผลทรงพลังเด็ดขาด แข็งแรก และ แน่นอน
– Dynamic unity เป็นการเน้นไปทางอ่อนไหวการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่รูปในลักษณะ gradation or harmony or contrastอย่างใดอย่างหนึ่งให้แสดงออกมาจากงานชิ้นนั้นด้วยจะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น การจัดองค์ประกอบที่ดีนั้นควรให้ส่วนประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกกระจาย การรวมตัวกันจะทำให้เกิดหน่วย หรือเอกภพ จะได้ส่วนประธานเป็นจุดสนใจ และมีส่วนประกอบต่างๆ ให้น่าสนใจ
2. ความสมดุล ( Balance ) คือ
ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
– สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance)
ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
– สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance )ด้านซ้ายและขวาจะ ไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนัก และขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม – จางของสีอะครีลิค เป็นต้น
3. การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis )
ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ หลักและวิธีในการใช้การเน้น
– เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
– เน้นด้วยการประดับ
– เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
– เน้นด้วยการใช้สีอะครีลิค
– เน้นด้วยขนาด
– เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา
4. เส้นแย้ง ( Opposition)
เป็นการจัดองค์ประกอบโดยการนำเอาเส้นในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งฉากมาประกอบกันให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการ มีลักษณะของภาพแบบเส้นแย้งในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา อยู่มากมาย นับว่าเป็นรากฐานของการจัดองค์ประกอบการจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุก ตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง
จากบทความนี้ เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น คุณสามารถไปทดลองได้
โดยสั้งซื้อสีอะครีลิค BEE ได้ในเว็บเรา คลิก >>> ซื้อสีอะคริลิค